อังคุตตรนิกาย

ทุกนิบาต

2.11

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือปฏิสังขานพละ ๑ ภาวนาพละ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิสังขานพละเป็นไฉนบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม พิจารณาดังนี้ว่า วิบากของกายทุจริตแล ชั่วช้าทั้งในชาตินี้และในภพเบื้องหน้า วิบากของวจี ทุจริต ชั่วช้าทั้งในชาตินี้และในภพหน้าวิบากของมโนทุจริต ชั่วช้าทั้งในชาตินี้และในภพหน้า

ครั้นเขาพิจารณาดังนี้แล้วย่อมละกายทุจริต เจริญกายสุจริต ย่อมละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต

ย่อมละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิสังขานพละ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภาวนาพละเป็นไฉน ในพละ ๒ อย่างนั้น ภาวนาพละของพระ เสขะ ก็บุคคลนั้นอาศัยพละที่เป็นของพระเสขะ ย่อมละราคะ ละโทสะ ละโมหะเสียได้เด็ดขาด ครั้นละราคะ ละโทสะ ละโมหะได้ เด็ดขาดแล้ว ย่อมไม่ทำกรรมที่เป็นอกุศล ย่อมไม่เสพกรรม ที่เป็นบาป ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าภาวนาพละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๒ อย่างนี้แล ฯ

2.12

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ปฏิสังขานพละ ๑

ภาวนาพละ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิสังขานพละเป็นไฉนบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม พิจารณาดังนี้ว่า วิบากของกายทุจริตแล ชั่วช้าทั้งในชาตินี้และในภพเบื้องหน้า วิบากของวจีทุจริต ชั่วช้าทั้งในชาตินี้และในภพเบื้องหน้า วิบากของมโนทุจริต ชั่วช้าทั้งในชาตินี้และในภพเบื้องหน้า

ครั้นเขาพิจารณาดังนี้แล้ว ย่อมละกายทุจริต เจริญกายสุจริต ย่อมละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต ย่อมละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าปฏิสังขาน พละ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภาวนาพละเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ … ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ … ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ … ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ … ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ …ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย นิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าภาวนาพละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๒ อย่างนี้แล ฯ

2.13

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือปฏิสังขานพละ ๑ ภาวนาพละ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสังขานพละเป็นไฉนบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม พิจารณาดังนี้ว่า วิบากของกายทุจริต ชั่วช้าทั้งในชาตินี้และในภพเบื้องหน้า วิบากของวจีทุจริต

ชั่วช้าทั้งในชาตินี้และในภพเบื้องหน้า วิบากของมโนทุจริต ชั่วช้าทั้งในชาตินี้และในภพเบื้อง หน้า ครั้นเขาพิจารณาดังนี้แล้ว ย่อมละกายทุจริต เจริญกายสุจริต ย่อมละวจีทุจริต เจริญ วจีสุจริต ย่อมละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียก ว่าปฏิสังขานพละ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภาวนาพละเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัด จากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน ไม่มี

วิตกไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะ ปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่ เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัส ก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าภาวนาพละ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พละ ๒ อย่างนี้แล ฯ

2.14

ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสดงธรรมของพระตถาคต ๒ อย่างนี้๒ อย่างเป็นไฉน คือ โดยย่อ ๑ โดยพิสดาร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสดงธรรมของพระตถาคต ๒ อย่างนี้แล ฯ

2.15

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอธิกรณ์ใด ที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติและภิกษุผู้เป็นโจทก์ ยัง มิได้พิจารณาตนด้วยตนเองให้ดี ในอธิกรณ์นั้น พึงหวังได้ว่าจักเป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อการมี วาจาหยาบคาย เพื่อความร้ายกาจ และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ไม่ผาสุก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนใน อธิกรณ์ใด ที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติและภิกษุผู้เป็นโจทก์ พิจารณาตนด้วยตนเองให้ดี ในอธิกรณ์นั้น

พึงหวังได้ว่าจักไม่เป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ จักไม่เป็นไปเพื่อการมีวาจาหยาบ จักไม่เป็นไปเพื่อ ความร้ายกาจ และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ผาสุก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ต้องอาบัติ ย่อมพิจารณา ตนด้วยตนเองให้ดีอย่างไร คือ ภิกษุผู้ต้องอาบัติในธรรมวินัยนี้ย่อมสำเหนียกดังนี้ว่า เราแล ต้องอาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย แล้วฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงได้เห็นเราผู้ต้องอาบัติอัน เป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกายถ้าเราจะไม่พึงต้องอาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย กาย ภิกษุนั้นก็จะไม่พึงเห็นเราผู้ต้องอาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย ก็เพราะเหตุที่ เราต้องอาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย ภิกษุนั้นจึงได้เห็นเราผู้ต้องอาบัติอันเป็น อกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย ก็แหละภิกษุนั้นครั้นเห็นเราผู้ต้องอาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใด อย่างหนึ่งด้วยกายแล้ว เป็นผู้ไม่ชอบใจ ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ชอบใจ ได้ว่ากล่าวเราผู้มีวาจาไม่ชอบใจ

เราผู้มีวาจาไม่ชอบใจถูกภิกษุนั้นว่ากล่าวแล้ว ย่อมไม่ชอบใจ เมื่อไม่ชอบใจ ได้บอกแก่ผู้อื่นว่า ด้วยเหตุนี้ โทษในเหตุนี้จึงครอบงำ แต่เฉพาะเราคนเดียวเท่านั้น เหมือนกับในเรื่องสินค้า โทษ ครอบงำ ผู้จำต้องเสียภาษี ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ต้องอาบัติย่อมพิจารณาตนด้วยตนเอง

ให้ดีด้วยประการฉะนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้เป็นโจทก์ ย่อมพิจารณาตนด้วยตนเองให้ดี อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นโจทก์ในธรรมวินัยนี้ ย่อมสำเหนียกดังนี้ว่า ภิกษุนี้แล ต้องอาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกายแล้ว ฉะนั้น เราจึงได้เห็นภิกษุนี้ต้องอาบัติอัน เป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย ถ้าภิกษุนี้จะไม่พึงต้องอาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยกาย เราจะไม่พึงเห็นภิกษุนี้ต้องอาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย แต่เพราะเหตุ ภิกษุนี้ต้องอาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกายเราจึงได้เห็นภิกษุนี้ต้องอาบัติอันเป็น อกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย ก็แหละเราครั้นได้เห็นภิกษุนี้ต้องอาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใด อย่างหนึ่งด้วยกายแล้ว เป็นผู้ไม่ชอบใจ เราเมื่อเป็นผู้ไม่ชอบใจ ได้ว่ากล่าวภิกษุนี้ผู้มีวาจาไม่ ชอบใจ ภิกษุนี้มีวาจาไม่ชอบใจ เมื่อถูกเราว่ากล่าวอยู่เป็นผู้ไม่ชอบใจ เมื่อเป็นผู้ไม่ชอบใจ ได้บอกแก่ผู้อื่นว่า ด้วยเหตุนี้ โทษในเหตุนี้จึงครอบงำแต่เฉพาะเราคนเดียวเท่านั้นเหมือนกับใน เรื่องสินค้า โทษครอบงำผู้จำต้องเสียภาษี ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้เป็นโจทก์ย่อม พิจารณาตนด้วยตนเองให้ดีด้วยประการฉะนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอธิกรณ์ใด ที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติ และภิกษุผู้เป็นโจทก์ ยังไม่ได้พิจารณาตนด้วยตนเองให้ดี ในอธิกรณ์นั้น พึงหวังได้ว่าจักเป็น ไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อความมีวาจาหยาบคาย เพื่อความร้ายกาจ และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ไม่ ผาสุก ส่วนในอธิกรณ์ใด ที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติและภิกษุผู้เป็นโจทก์ พิจารณาตนด้วยตนเองให้ดี ในอธิกรณ์นั้น พึงหวังได้ว่าจักไม่เป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ จักไม่เป็นไปเพื่อความมีวาจาหยาบคาย จักไม่เป็นไปเพื่อความร้ายกาจ และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ผาสุก ฯ

2.16

ครั้งนั้นแล พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัย กับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย

ให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก พระผู้มี พระภาคตรัสตอบว่า ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่สม่ำเสมอ คือ ประพฤติเป็น อธรรม สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป จึงเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก ฯ

พ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ

ภ. ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุแห่งการประพฤติสม่ำเสมอ คือ ประพฤติเป็นธรรม สัตว์ บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป จึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ

พ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือน หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มี จักษุจักเห็นรูป ฉะนั้นข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม กับทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์เป็น สรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป ฯ

2.17

ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชานุสโสณีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็น ปัจจัย ให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรพราหมณ์ เพราะกระทำด้วย เพราะไม่กระทำด้วย สัตว์บางพวก ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป จึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ

ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ

พ. ดูกรพราหมณ์ เพราะกระทำด้วย เพราะไม่กระทำด้วย สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ

ชา. ข้าพระองค์ย่อม ไม่รู้ทั่วถึง เนื้อความแห่งภาษิต ที่ท่านพระโคดมตรัสแล้วโดยย่อได้โดย พิสดาร ขอประทานพระวโรกาส ขอท่านพระโคดมจงทรงแสดงธรรม โดยที่ข้าพระองค์จะพึงรู้ ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตที่ท่านพระโคดมตรัสแล้วโดยย่อได้โดยพิสดารเถิด ฯ

พ. ดูกรพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงตั้งใจให้ดี เราจักกล่าว พราหมณ์ชานุส โสณีได้ทูลสนองพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธวจนะดังนี้ว่า ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมทำแต่กายทุจริต มิได้ทำกายสุจริต ย่อมทำแต่วจีทุจริต มิได้ทำวจีสุจริต ย่อมทำแต่มโนทุจริต มิได้ทำมโนสุจริต ดูกรพราหมณ์ เพราะกระทำด้วย

เพราะไม่กระทำด้วย สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต

นรก ดูกรพราหมณ์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมทำแต่กายสุจริต มิได้ทำกายทุจริต ย่อม ทำแต่วจีสุจริต มิได้ทำวจีทุจริต ย่อมทำแต่มโนสุจริต มิได้ทำมโนทุจริต ดูกรพราหมณ์ เพราะ กระทำด้วย เพราะไม่กระทำด้วย สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ฯ

ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือน บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า

คนมีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้นข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม กับทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์เป็น สรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป ฯ

2.18

ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่าน พระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ เรากล่าวกายทุจริตวจีทุจริต มโนทุจริต ว่าเป็นกิจไม่ควรทำโดย ส่วนเดียว ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลทำกายทุจริต วจีทุจริต

มโนทุจริต ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นกิจไม่ควรทำโดยส่วนเดียว โทษอะไรอันผู้นั้นพึงหวังได้ ฯ

พ. ดูกรอานนท์ เมื่อบุคคลทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ที่เรากล่าวว่าเป็นกิจไม่ ควรทำโดยส่วนเดียว โทษอย่างนี้ อันผู้นั้นพึงหวังได้ คือ ๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองได้ ๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมติเตียนได้ ๓. กิตติศัพท์ชั่วย่อมกระฉ่อนไป ๔. เป็นคนหลงทำกาละ

๕. เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ

ดูกรอานนท์ เมื่อบุคคลทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ที่เรากล่าวว่าเป็นกิจไม่ควร ทำโดยส่วนเดียว โทษอย่างนี้อันผู้นั้นพึงหวังได้ ดูกรอานนท์ เรากล่าวกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ว่าเป็นกิจควรทำโดยส่วนเดียว ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลทำกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ที่พระผู้มี พระภาคตรัสว่าเป็นกิจควรทำโดยส่วนเดียว อานิสงส์อะไรอันผู้นั้นพึงหวังได้ ฯ

พ. ดูกรอานนท์ เมื่อบุคคลทำกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ที่เรากล่าวว่าเป็นกิจ ควรทำโดยส่วนเดียว อานิสงส์อย่างนี้ อันผู้นั้นพึงหวังได้ คือ๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเอง ไม่ได้ ๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมสรรเสริญ ๓. กิตติศัพท์อันดีย่อมกระฉ่อนไป ๔. ไม่เป็น คนหลงทำกาละ ๕. เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ

ดูกรอานนท์ เมื่อบุคคลทำกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ที่เรากล่าวว่า เป็นกิจ ควรทำโดยส่วนเดียว อานิสงส์อย่างนี้อันผู้นั้นพึงหวังได้ ฯ

2.19

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละอกุศล อกุศลอันบุคคลอาจละได้ ถ้าบุคคลไม่อาจละอกุศลได้ เราไม่พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละอกุศล

ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะอกุศลอันบุคคลอาจละได้ ฉะนั้น เราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละอกุศลดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอกุศลนี้อันบุคคลละได้แล้ว จะพึงเป็นไปเพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ไซร้ เราไม่พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละอกุศล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะอกุศลอันบุคคลละได้แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ประโยชน์ เพื่อความสุข ฉะนั้น เราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละ อกุศล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงยังกุศลให้เกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุศลอันบุคคลอาจ ให้เกิดได้ ถ้าบุคคลไม่อาจให้เกิดได้เราไม่พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงยังกุศลให้เกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะกุศลอันบุคคลอาจให้เกิดได้ ฉะนั้น เราจึงกล่าว อย่างนี้ว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงยังกุศลให้เกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ากุศลนี้อัน บุคคลให้เกิดแล้ว จะพึงเป็นไปเพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ไซร้ เราไม่พึงกล่าวอย่างนี้ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงยังกุศลให้เกิด ดูกรภิกษทั้งหลาย ก็เพราะกุศลอันบุคคลให้ เกิดแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ฉะนั้น เราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงยังกุศลให้เกิด ฯ

2.20

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือนเลือนหาย แห่งสัทธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ บทพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี ๑อรรถที่นำมาไม่ดี ๑

แม้เนื้อความแห่งบทพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี ก็ย่อมเป็นอันนำมาไม่ดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือนเลือนหายแห่งสัทธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งสัทธรรม ๒ อย่างเป็น ไฉน คือบทพยัญชนะที่ตั้งไว้ดี ๑ อรรถที่นำมาดี ๑ แม้เนื้อความแห่งบทพยัญชนะ ที่ตั้งไว้ดีแล้ว ก็ย่อมเป็นอันนำมาดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อ ความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ

จบอธิกรณวรรคที่ ๒