อังคุตตรนิกาย

3.40. อธิปไตยสูตร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อธิปไตย ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ อัตตา ธิปไตย ๑ โลกาธิปไตย ๑ ธรรมาธิปไตย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อัตตาธิปไตยเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อม สำเหนียกดังนี้ว่า ก็เราออกบวชเป็นบรรพชิตไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ใช่เพราะเหตุแห่ง บิณฑบาต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่ง ความมีและความไม่มีเช่นนั้น ก็แต่ว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสอุปายาส ครอบงำแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ครอบงำแล้ว มีทุกข์ท่วมทับแล้ว ไฉนการ ทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ ก็การที่เราจะพึงแสวงหากามที่ละได้แล้วออกบวชเป็น บรรพชิตนั้น เป็นความเลวทรามอย่างยิ่ง ข้อนั้นไม่เป็นการสมควรแก่เราเลย เธอย่อมสำเหนียกว่า

ก็ความเพียรที่ปรารภแล้ว จักไม่ย่อหย่อนสติที่เข้าไปตั้งมั่นแล้วจะไม่หลงลืม กายที่สงบระงับ แล้วจักไม่ระส่ำระสาย จิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่ ดังนี้ เธอทำตนเองแลให้ เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้ บริสุทธิ์ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอัตตาธิปไตย ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โลกาธิปไตยเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมสำเหนียกว่า ก็เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งบิณฑบาตไม่ใช่เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เรา ออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่ง ความมีและความไม่มีเช่นนั้น ก็แต่ว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ ครอบงำแล้ว มีทุกข์ท่วมทับแล้ว ไฉนความทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ ก็การที่เรา ออกบวชเป็นบรรพชิตเช่นนี้ พึงตรึกกามวิตกก็ดี พึงตรึกพยาบาทวิตกก็ดี พึงตรึกวิหิงสาวิตกก็ดี ก็โลกสันนิวาสนี้ใหญ่โต ในโลกสันนิวาสอันใหญ่โต ย่อมจะมีสมณพราหมณ์ที่มีฤทธิ์ มี ทิพยจักษุ รู้จิตของคนอื่นได้ สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมมองเห็นได้แม้แต่ไกล แม้ใกล้ๆ เราก็มองท่านไม่เห็น และท่านย่อมรู้ชัดซึ่งจิตด้วยจิต สมณพราหมณ์แม้เหล่านั้น ก็พึงรู้เรา ดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลายดูกุลบุตรนี้ซี เขาเป็นผู้มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิตแล้ว

แต่เกลื่อนกล่นไปด้วยธรรมที่เป็นบาปอกุศลอยู่ ถึงเทวดาที่มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้จิตของคนอื่น ได้ก็มีอยู่เทวดาเหล่านั้นย่อมมองเห็นได้แต่ไกล แม้ใกล้ๆ เราก็มองท่านไม่เห็น และท่าน ย่อมรู้ชัดซึ่งจิตด้วยจิต เทวดาเหล่านั้นก็พึงรู้เราดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ดูกุลบุตรนี้ซี เขาเป็นผู้มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิตแล้ว แต่เกลื่อนกล่นไปด้วยธรรมที่เป็นบาปอกุศลอยู่ เธอย่อมสำเหนียกว่า ความเพียรที่เราปรารภแล้วจักไม่ย่อหย่อน สติที่เข้าไปตั้งมั่นแล้วจักไม่ หลงลืม กายที่สงบระงับแล้วจักไม่ระส่ำระสาย จิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่ ดังนี้ เธอทำโลกให้เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าโลกาธิปไตย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมาธิปไตยเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมสำเหนียกว่า ก็เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งบิณฑบาตไม่ใช่เพราะเหตุแห่งเสนาสนะเรา ออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความีและความไม่มีเช่นนั้น ก็แต่ว่าเราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ ท่วมทับแล้ว ไฉนความทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาค ตรัสดีแล้วอันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ก็เพื่อนสพรหมจารีผู้ที่รู้อยู่ เห็นอยู่ มีอยู่แล ก็และการที่เราได้ ออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้วจะพึงเป็นผู้เกียจคร้าน มัวเมาประมาทอย่างนี้ ข้อนั้นไม่เป็นการสมควรแก่เราเลยดังนี้ เธอย่อมสำเหนียกว่า ก็ความเพียรที่เรา ปรารภแล้วจักไม่ย่อหย่อน สติที่เข้าไปตั้งมั่นแล้ว จักไม่หลงลืม กายที่สงบระงับแล้วจักไม่ ระส่ำระสายจิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมี อารมณ์แน่วแน่ ดังนี้ เธอทำธรรมนั่นแหละให้เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าธรรมาธิปไตย ดูกรภิกษุทั้งหลายอธิปไตย ๓ อย่างนี้แล ฯ

ขึ้นชื่อว่าความลับไม่มีในโลก สำหรับผู้ทำบาปกรรม ดูกรบุรุษ จริง หรือเท็จ ตัวของท่านเองย่อมจะรู้ได้ แน่ะผู้เจริญ ท่านสามารถที่จะทำ ความดีได้หนอ แต่ท่านดูหมิ่นตนเองเสีย อนึ่ง ท่านได้ปกปิดความ ชั่วซึ่งมีอยู่ในตนท่านนั้นซึ่งเป็นคนพาล ประพฤติตึงๆ หย่อนๆ

อันเทวดาและพระตถาคตย่อมเห็นได้ เพราะฉะนั้นแหละ คนที่มีตน

เป็นใหญ่ ควรมีสติเที่ยวไป คนที่มีโลกเป็นใหญ่ ควรมีปัญญาและ เพ่งพินิจและคนที่มีธรรมเป็นใหญ่ ควรเป็นผู้ประพฤติโดยสมควรแก่

ธรรม มุนีผู้มีความบากบั่นอย่างจริงจัง ย่อมจะไม่เลวลง อนึ่ง บุคคลใด มีความเพียร ข่มขี่มาร ครอบงำมัจจุ ผู้ทำที่สุดเสียได้แล้ว ถูกต้อง ธรรมอันเป็นที่สิ้นชาติ บุคคลผู้เช่นนั้น ย่อม เป็นผู้รู้แจ้งโลก มี เมธาดี เป็นมุนี ผู้หมดความทะยานอยากในธรรมทั้งปวง ฯ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. พรหมสูตร ๒. อานันทสูตร ๓. สาริปุตตสูตร ๔. นิพพานสูตร ๕. หัตถกสูตร ๖. ทูตสูตร ๗. ราชสูตรที่ ๑ ๘. ราชสูตรที่ ๒ ๙. สุขุมาลสูตร ๑๐. อธิปไตยสูตร ฯ