อังคุตตรนิกาย

6.59. ๕. ทารุกัมมิกสูตร

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทสร้างด้วยอิฐใกล้นาทิกคาม ครั้งนั้น คฤหบดีชื่อทารุกัมมิกะ (พ่อค้าฟืน) เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า ดูกรคฤหบดี ทานใน สกุล ท่านยังให้อยู่หรือคฤหบดีชื่อทารุกัมมิกะได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยัง ให้อยู่และทานนั้นแล ข้าพระองค์ให้ในภิกษุผู้เป็นอรหันต์ หรือผู้บรรลุอรหัตมรรค ผู้ถืออยู่ป่า เป็นวัตร ผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ฯ

พ. ดูกรคฤหบดี ท่านผู้เป็นคฤหัสถ์ บริโภคกาม อยู่ครองเรือน นอนเบียดเสียด บุตร บริโภคจันทน์แคว้นกาสี ทัดทรงดอกไม้ ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยินดีทองและเงินอยู่ พึงรู้ข้อนี้ได้ยากว่า ภิกษุเหล่านี้เป็นพระอรหันต์หรือเป็นผู้บรรลุอรหัตมรรค ดูกรคฤหบดี ถ้า แม้ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ถือตัว เห่อ ปากกล้า พูดพล่าม มีสติเลอะเลือน

ไม่มีสัมปชัญญะมีใจไม่ตั้งมั่น มีจิตพลุ่งพล่าน ไม่สำรวมอินทรีย์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึง ถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ถ้าแม้ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตัว ไม่เห่อ ไม่ ปากกล้า ไม่พูดพล่าม มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีใจตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง สำรวม อินทรีย์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงได้รับสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ถ้าแม้ภิกษุผู้อยู่ใกล้บ้าน เป็น ผู้ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ถ้าแม้ภิกษุผู้อยู่ใกล้บ้าน

เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงได้รับสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ถ้าแม้ภิกษุผู้ถือเที่ยว บิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นถ้า แม้ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ภิกษุนั้นพึงได้รับ สรรเสริญด้วยเหตุนั้น ถ้าแม้ภิกษุผู้รับนิมนต์ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ฯลฯเมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึง ถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ถ้าแม้ภิกษุผู้รับนิมนต์ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้น พึงได้รับสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ถ้าแม้ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็น อย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ถ้าแม้ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯเมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงได้รับสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ถ้าแม้ภิกษุผู้ทรงคฤหบดีจีวร เป็น ผู้ฟุ้งซ่าน ถือตัว เห่อ ปากกล้า พูดพล่าม มีสติเลอะเลือน ไม่มีสัมปชัญญะ มีใจไม่ตั้งมั่น มีจิตพลุ่งพล่าน ไม่สำรวมอินทรีย์ เมื่อเป็นอย่างนี้ภิกษุนั้นพึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ถ้าแม้ ภิกษุผู้ทรงคฤหบดีจีวร เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่านไม่ถือตัว ไม่เห่อ ไม่ปากกล้า ไม่พูดพล่าม มีสติตั้ง มั่น มีสัมปชัญญะ มีใจตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง สำรวมอินทรีย์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุ นั้นพึงได้รับสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ดูกรคฤหบดี เชิญท่านให้สังฆทานเถิด เมื่อท่านให้สังฆทาน อยู่ จิตจักเลื่อมใส ท่านนั้นเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส เมื่อตายไป จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ คฤหบดีชื่อ ทารุกัมมิกะ ทูลสนองว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพระองค์นี้จักให้สังฆทานตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ

จบสูตรที่ ๕